TKP HEADLINE

ชุมชนวิจัยรากฐานใหม่แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต


งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นวิธีการ “เน้นการวิจัยที่สามารถตอบปัญหา  โดยการสร้างรูปแบบและวิธีการค้นหาคำตอบ  ที่สามารถให้ความกระจ่างต่อปัญหานั้น ๆ ได้  และเสนอทางเลือกหรือชี้นำการปรับตัวของชุมชนในท้องถิ่นเป็นอันดับแรก”
มีการดำเนินงาน 2  รูปแบบดังนี้
1) การวิจัยเต็มรูปแบบ (PAR)
เป็นงานวิจัยที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบตามแนวคิด การวิจัยเพื่อท้องถิ่นทั้งในเชิงเนื้อหาและในเชิงกระบวนการ ภายใต้หลักการว่า “เป็นปัญหาของชาวบ้าน ชาวบ้านเป็นทีมวิจัย และมีปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหา” โดยใช้ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 2 ปีงานวิจัยแบบนี้มี 2 ลักษณะ กล่าวคือ
1.1 การวิจัยที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาสังคมในทุกประเด็น
1.2 การวิจัยที่เน้นการทดลองเปรียบเทียบและทดสอบปัจจัยต่าง ๆ  เพื่อหาทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและคุ้มทุนที่สุด เน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก
2) การวิจัยทางเลือกใหม่เพื่อท้องถิ่น
เป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นรูปแบบใหม่ที่พัฒนามาจากแบบแรก เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและสอดคล้องกับศักยภาพท้องถิ่นและกลุ่มคนที่มีหลากหลายระดับ เป็นการเริ่มต้นทดลองทำงานวิจัยอย่างง่าย ๆ ประมาณ 3-6 เดือน ไม่เกิน 1 ปี มีหลายทางเลือกดังนี้
2.1 การวิจัยเบื้องต้น เป็นกระบวนการพัฒนาโจทย์วิจัยและการรวบรวมความรู้ รวมถึงการเตรียมชุมชน เตรียมชาวบ้าน
2.2 การวิจัยวิจัยที่เน้นการถอดความรู้และรวบรวมองค์ความรู้จากการทำงานพํฒนาของชุมชน (วิจัยภูมิปัญญา) ชุมชนอยากรู้  อยากรวบรวมองค์ความรู้ของตนเอง โดยไม่ได้มุ่งแก้ไขปัญหาชุมชนมากนัก
2.3 การวิจัยเชิงความร่วมมือ  เป็นการสนับสนุนการสร้างความรู้ร่วมกับหน่วยงานหรือภาคีอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน เพื่อชุมชนท้องถิ่น เป็นความร่วมมือทั้งในแง่การมีเป้าหมายเพื่อท้องถิ่น แต่ละภาคีร่วมกันสนับสนุนปัจจัยและทุนการดำเนินงานร่วมกัน



และเรื่องด้านล่างนี้ เป็นวิดีทัศน์ตัวอย่าง ที่จะเป็นอีกคำตอบหนึ่งจากชุมชนหนึ่งในจังหวัดพะเยา



ชมวิดีทัศน์ คลิกลิ้งค์ด้านล่าง 




กศน.มิติใหม่ ประมวลการเรียนรู้ตามอัธยาศัยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลส่งต่ออนาคต


ดร.วิเลขา ลีสุวรรณ์ รองเลขาธิการ สำนักงาน กศน. เปิดเผยถึงการปรับตัวในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้คนในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องมีทักษะความรู้ที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันในโลกออนไลน์มักพบข้อมูลที่ไม่ได้ถูกตรวจสอบ กลั่นกรองและมีจำนวนมากที่เป็นข้อมูลเท็จ ซึ่งนับเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ ตลอดจนสร้างค่านิยมและความเชื่อที่ไม่ถูกต้องให้แก่บุคคลในยุคดิจิทัล ดังนั้น สำนักงาน กศน. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย จึงตระหนักและเล็งเห็นถึงความจำเป็นของการนำเสนอข้อมูลที่เป็นจริง มีการกลั่นกรองความถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้จากองค์ความรู้ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ จากเหตุผลข้างต้น สำนักงาน กศน. โดยสถาบันการศึกษาทางไกล ได้มีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้เพื่อการจัดความรู้ โดยนำร่องที่สำนักงาน กศน.จังหวัดน่าน หรือที่เรียกว่า “เมืองน่าน โมเดล” จากผลการนำร่องครั้งนี้ ก่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง ๔ เรื่องสำคัญ คือ
๑) การจัดการความรู้ของชุมชน ในด้านต่างๆ ได้แก่ อาชีพชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น ท่องเที่ยวชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้ เทคโนโลยีชาวบ้าน อาหารท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาของไทยที่ถูกถ่ายทอดอย่างไม่เป็นทางการ
๒) การรวบรวมองค์ความรู้ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ของประชาชน
๓) การนำ Application ของ Google ที่สามารถพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางรวบรวมจัดหมวดหมู่ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์จากแหล่งต่างๆเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและง่ายต่อการเข้าถึง (Portal Web) ซึ่งทำให้บุคคลทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ผ่านสมาร์ทโฟน ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ตามความต้องการ
๔) กระบวนการจัดการความรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การประกอบอาชีพ การศึกษา และวัฒนธรรม เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มตามนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งยังเชื่อมโยงองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านที่กำลังจะสูญหายสู่ลูกหลานของไทยในอนาคต
ดร.วิเลขา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากแนวคิดดังกล่าวเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำไปสู่การขยายผลเพื่อสร้าง “คลังความรู้ของประเทศไทย” (Thailand Knowledge Portal : TKP) โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการความรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ที่สามารถเชื่อมโยงและผสมผสานการศึกษากับวิถีชีวิตเข้าด้วยกัน นับเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยในมิติใหม่ของ สำนักงาน กศน. ที่สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ตอบสนองนโยบาย“นิยมไทย ไทยยั่งยืน” โดยใช้ “เน็ตประชารัฐ” รวมทั้งการเปลี่ยนระบบการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างแท้จริง ซึ่งตนขอชื่นชมและขอบคุณคณะทำงานทุกคนที่ส่วนหนึ่งเป็นข้าราชการบำนาญที่มีใจรักและอุทิศเวลาเพื่องาน กศน. และสิ่งที่อยากฝากแก่ชาว กศน.และชาวสถาบันการศึกษาทางไกล คือ การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ หน่วยงาน/สถานศึกษา/เครือข่าย รู้จัก กศน.ในบทบาทนี้มากยิ่งขึ้น

อ้างอิง
http://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/WNSOC6104020010060

หน้าที่และบทบาทของผู้จัดการศึกษาออนไลน์

ผู้ที่ทำหน้าที่จัดการศึกษาและฝึกอบรมออนไลน์ รูปแบบ e-learning / e-training จะมีบทบาทหน้าที่ประกอบไปด้วย 6 งานหลัก ดังนี้


1. งานออกแบบ พัฒนาและสร้างหลักสูตร บทเรียน
o กำหนดองค์ประกอบสำคัญของการสร้างบทเรียนทั้งหมด อาทิ  เนื้อหา วัตถุประสงค์ รูปแบบ ลักษณะ วิธีการที่จะนำเสนอที่เหมาะสมกับผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ออนไลน์
o จัดทำผังสร้างงาน (Storyboard) จัดลำดับการนำเสนอเนื้อหา แหล่งเชื่อมโยง (link) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อศึกษาเพิ่มเติม
o ออกแบบกำหนดรายละเอียดบทเรียนการเรียนรู้ออนไลน์ตามผังสร้างงาน อาทิ การออกแบบ หน้าแสดงผล (interface) ตัวช่วยนำทาง (navigation) โครงสร้างรวมของบทเรียน(site directory)
o จัดทำบทเรียนการเรียนรู้ออนไลน์ตามรายละเอียดที่ได้กำหนดไว้ และดำเนินการทดสอบกระบวนการเชื่อมโยง ทั้งภายในและภายนอกสาระบทเรียนตามโครงสร้างรวมของบทเรียน(site directory)

2. งานจัดการศึกษา/การเรียนรู้
o นำหลักสูตรเข้าระบบ course management system
o เผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักสูตร
o แต่งตั้งครูที่ปรึกษาประจำหลักสูตร(e-instructor)เพื่อสนับสนุนการให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน
o เปิดหลักสูตรในการจัดฐานการเรียนรู้
o ประเมินผล หรือวัดผลการเรียนรู้ในแต่ละหลักสูตร
o ควบคุม ตรวจสอบการเข้าฐานการเรียนรู้ ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

3. งานออกแบบการแสดงผลและสื่อประกอบ (Interface & Media Element Design)
o งานจัดการด้านชิ้นส่วนกราฟิกและสื่อมัลติมีเดียประกอบบทเรียนและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
o งานออกแบบภาพรวมการแสดงผลบนหน้าจอของทุกอุปกรณ์ (User Interface)

4. งานบริหารระบบฐานข้อมูลการเรียนรู้  (E-learning Management System) 
o จัดโมดุลรายวิชาที่สร้างให้เหมาะสมกับระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์
o พัฒนาข้อมูลบทเรียน สาระเนื้อหารายวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
o ดำเนินการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลบทเรียนและข้อมูล สาระเนื้อหารายวิชา กับเครือข่าย ภายใต้กลไกการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน(Education Resource Sharing)
o ดำเนินการเชื่อมโยง ข้อมูลหลักสูตร เข้าสู่ระบบ Web Portal

5. งานจัดการความเสี่ยงของระบบจัดการศึกษาออนไลน์ 
o การป้องกันและรักษาข้อมูลบทเรียนและเนื้อหาการเรียนรู้บน Server/Cloud
+ ทำการสำรองข้อมูลจาก Web Servers/Cloud
o การป้องกันความเสียหายจากไวรัสคอมพิวเตอร์
+ ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสลิขสิทธิ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ใช้พัฒนาสื่อ หลักสูตร และบทเรียน
+ ปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition File) จากเว็บไซด์ของบริษัทเจ้าของโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ

6. งานพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับระบบจัดการศึกษาออนไลน์ 
o ศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อหลักสูตร บทเรียน และเนื้อหาการเรียนรู้
+ ศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีเว็บ ที่สอดคล้องต่อสภาพ ปัจจัย กระบวนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามมาตรฐาน SCORM
+ นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
o การรักษามาตรฐานของไฟล์ข้อมูลบทเรียนและเนื้อหาการเรียนรู้
+ จัดหาโปรแกรม (Software) สำหรับใช้ในการผลิตเนื้อหา บทเรียน เพื่อป้องกันปัญหา จากการละเมิดลิขสิทธิ์
+ จัดทำแม่แบบรวมทั้งไฟล์บทเรียนให้มีมาตรฐานต่อระบบการจัดการศึกษาออนไลน์ เป็นไปตามมาตรฐาน SCORM
+ ปรับปรุงไฟล์ข้อมูลเนื้อหา บทเรียน ให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน รองรับพัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ในทุกๆอุปกรณ์ได้อย่างสมบูรณ์

การสู่ขวัญข้าว จังหวัดน่าน



การสู่ขวัญข้าวเป็นประเพณีที่ชาวนาตำบลน้ำพางนั้นปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาหลังจากเก็บเกี่ยวขึ้นสู่ยุ้งฉางข้าว และเป็นการบูชาพระแม่โพสพที่คอยช่วยป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ที่จะมาทำลายข้าวในนา และนอกจากนี้นั้นยังเป็นความเชื่อของชาวนาว่าการบูชาพระแม่โพสพนั้นจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป โดยเครื่องพิธีจะมีไก่และเครื่องสังเวยแก่พระแม่โพสพ ที่ช่วยให้ได้ทำให้ข้าวได้ผลผลิตเป็นที่พอใจ แต่ถ้าหากเป็นพิธีสู่ขวัญข้าวแบบใหญ่ โดยส่วนมากแล้วเจ้าของจะไม่ได้กล่าวคำสังเวยได้ด้วยตัวเองจึงต้องขออาจารย์ประจำหมู่บ้านเป็นผู้โอกาสให้ โดยจะทำหลังฤดูเก็บเกี่ยว ศึกษาเพิ่มเติม

อุทยานแห่งชาติขุนสถาน จังหวัดน่าน


อุทยานแห่งชาติขุนสถาน เป็นพื้นที่ที่ได้สำรวจจากป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่ อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน พื้นที่ 285,826 ไร่ ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้ชนิดต่างๆ คือ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง สัตว์ที่พบเห็นได้แก่สัตว์จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ นก ปลา แมลงชนิดต่างๆ ศึกษาเพิ่มเติม

สวนเกษตรอินทรีย์ป๋านึก นางสาวรัตติกาล สายยาโน


สวนเกษตรอินทรีย์ที่เกิดจากความมานะอุตสาหะโดยแท้ ป๋านึกใช้เวลานานกว่า 10 ปีในการเปลี่ยนสภาพดินที่เป็นสีขาวเพาะปลูกอะไรก็ไม่ได้ผลมาเป็นดินที่ดีจนมีสวนขนาดใหญ่สร้างรายได้อย่างงดงามอย่างทุกวันนี้ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และความอดทน ที่นี่มีมะนาวหลายต้น มีมะพร้าวมากมาย และผักสวนครัวหลายแปลงปลูกผักสำหรับจะกินเป็นอาหาร เป็นสวนผสมผสานขนานแท้ มะพร้าวที่นี่ต้นไม่สูงแต่ถ้ามองขึ้นไปจะเห็นว่ามีลูกมะพร้าวดกมากๆ พี่อุ้มเก็บมะพร้าวมาเปิดให้เรากินสดๆ จากสวนหวานชื่นใจ แล้วยังมีน้ำมะนาวให้เราชิมสูตรเปรี้ยว และหวานอมเปรี้ยว หายเหนื่อยกันเรียบร้อยต้อนนี้พี่อุ้มก็จะลงมือสอนการทำลูกประคบจากสมุนไพรไม่กี่อย่างที่ปลูกเองที่สวนผสมกับการบูรที่ซื้อมาจากตลาดมามัดรวมกันเป็นลูกประคบกลมๆ ปกติลูกประคบแค่เอาใส่ห่อผ้าแล้วมัดให้แน่นก็ใช้ประคบได้แต่ถ้าจะแสดงฝีมือและความประณีตของเจ้าของต้องมีกระบวนการมัดที่สวยงามเพราะลูกประคบพอทำเสร็จแล้วมันสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน นอกจากประโยชน์จะเอามาประคบให้คลายปวดเมื่อยและผ่อนคลายกล้ามเนื้อแล้ว สมุนไพรที่ประกอบอยู่ในลูกประคบเอามาวางในห้องนอนทำให้หลับสบายได้ด้วย จะเอามาทำเป็นรายได้เสริมก็สบายมาก ศึกษาเพิ่มเติม

ลานหีบอ้อยโบราณ


หีบอ้อยโบราณ ตำนานน้ำอ้อย บ้านป่าคาหมู่ 2 ตำบลบ่อสวก (Legendary Sweet Treat)
ชุมชนบ้านป่าคา หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อสวก ในอดีตเคยเป็นแหล่งเพาะปลูกและผลิตน้ำอ้อยที่สำคัญของจังหวัดน่าน เพราะในอดีตคนในชนบทจะบริโภคและใช้น้ำอ้อย แทนน้ำตาลทราย ทุกครอบครัวจะมีอาชีพปลูกอ้อย และแปรรูปน้ำอ้อยสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจากบรรพบุรุษ ด้วยสภาพของดินร่วนปนทรายและมีโปแต๊สเซี่ยมอยู่ในดิน เหมาะสมกับการปลูกอ้อยและทำให้อ้อยมีความหวาน เป็นพิเศษ ซึ่งในอดีตทุกครอบครัวจะมีหีบอ้อยโบราณ ที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็งและเหนียวทนทาน เช่น ไม้ประดู่ ที่ตัดมาทั้งลำต้น มาเหลา (กลึง) ด้วยขวาน พอได้ขนาดแล้วเจาะเป็นภู สลับกับร่องลึกลงในเนื้อไม้เพื่อเป็นแกนในการขับเคลื่อน จากการประกบกันของหีบอ้อย จำนวน 2 เลา (ต้น) ซึ่งในอดีตจะใช้ทั้งแรงงานคนในการหมุนหีบห้อยในขั้นตอนการหีบอ้อยเพื่อเอาน้ำอ้อยไปต้ม เพื่อเคี่ยวน้ำอ้อยให้เป็นก้อน ต่อมามีผู้ออกแบบทำหีบอ้อย จาก 2 เลา (ต้น) เป็น 3 เลา (ต้น) และฝึกให้กระบือ (ควาย) ในการหมุนหีบอ้อยโบราณ ดังกล่าวศึกษาเพิ่มเติม

น้ำอ้อยบ้านป่าคา



ในอดีต “น้ำอ้อย”  ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการปรุงอาหารท้องถิ่นเมืองน่าน ใช้เพื่อให้รสชาดความหวาน เป็นของที่มีประโยชน์มากสำหรับครัวเรือน ใช้รับรองแขกผู้มาเยือน ใช้แลกเปลี่ยนผลผลิตกับบ้านใกล้เรือนเคียง และขาดไม่ได้ในการใช้ประกอบอาหารสำหรับงานบุญประเพณีสำคัญทางศาสนา เช่น งานนมัสการพระธาตุ (ขึ้นธาตุ) และถือเป็นขนมของฝากที่มีคุณค่ายิ่ง ปัจจุบัน ชุมชนบ้านป่าคา ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ยังคงสืบทอดการผลิตน้ำอ้อยจากบรรพบุรุษ เพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยวิถีพอเพียง ทั้งส่งจำหน่ายทั่วไปภายในชุมชนและภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดน่าน รวมทั้งเป็นของที่ระลึกที่นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนให้ความสนใจหาซื้อเป็นอย่างมาก ศึกษาเพิ่มเติม

ภัยแล้งคืออะไร



ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน 2. สาเหตุของการเกิดภัยแล้งมีอะไรบ้าง สำหรับภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

ศึกษาเพิ่มเติม

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 Thailand Knowledge Portal. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand